ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแม่ลาน้อย จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2519 ตามนโยบายของกรมสามัญศึกษาที่จะขยายให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นทุกอำเภอโดยเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2519 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน 29 คน โดยในระยะแรกได้อาศัยเรียนที่อาคารเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ลาน้อย ( ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลแม่ลาน้อย ) และได้ขอครูมาช่วยปฏิบัติการสอน 2 คน คือ นายประยูร ลังกาพินธ์ วุฒิ กศ.บ. และนายน้อย แซ่เจีย วุฒิ พ.ม. โดยมีนายจินดา ต๊ะปินตา ศึกษาธิการอำเภอแม่ลาน้อย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2520 ได้ย้ายมาทำการสอนในโรงเรียนปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 970,000 บาท สำหรับ ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก จำนวน 6 ห้องเรียน บ้านพักครูจำนวน 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง โดยเริ่มวางผังก่อสร้าง บนที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมสามัญศึกษาได้เช่าจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 57 ไร่ 2 งาน 62.10 ตารางวา
ปี พ.ศ. 2520 การก่อสร้างโรงเรียนแบบ 216 ก เสร็จเรียบร้อย จึงได้ย้ายโรงเรียนมาจากโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ลาน้อยซึ่งในปีนี้มีนักเรียนทั้งสิ้น 71 คน ครูอาจารย์ 4 คน และ ภารโรง 1 คน
ปี พ.ศ. 2521 เปิดสอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 เป็นปีแรก มีนักเรียนรวมทั้งหมด 145 คน ครู 9 คน ภารโรง 2 คน
ปี พ.ศ. 2523 เปิดสอนหลักสูตรพุทธศักราช 2503 เป็นรุ่นสุดท้ายและใช้หลักสูตรพุทธศักราช 2521 มีจำนวนนักเรียนชั้น ม. 1- ม. 3 ทั้งหมด 140 คน
20 ธันวาคม 2523 ได้มีการจัดงาน “วันซาวธันว์” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นนโยบายของนายมนสมุทร ปานพรหม ถือเอาวันขุดหลุมก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ก ( 20 ธันวาคม 2519 ) เป็นวันกำเนิดโรงเรียน จัดให้มีกิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บูรพาจารย์ และกิจกรรมวิ่งประเพณีไป – กลับ ระหว่างโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์กับหมู่บ้านวังคัน
ปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด 45 คน
ปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาจำนวน 7,124,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียน 216 ล ( ปรับปรุง 29 ) จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2540 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ เป็น ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ( สั่ง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2540 )
ปี พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 118,512 บาท ให้โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักนักเรียน จำนวน 1 หลัง และห้องน้ำห้องส้วม แบบ 6 ที่ จำนวน 2 หลัง
ปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อทอดพระเนตรโครงการจัดที่พักนักเรียนและกิจกรรมด้านการเรียนการสอน
ปี พ.ศ. 2545 เปิดใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ซึ่งดำเนินการประเมินโดย ดร.อรทัย มูลคำ และคณะ ในวันที่ 24 มีนาคม 2549
ปี พ.ศ. 2551 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำ 26 โรงเรียน ICT ของโครงการโรงเรียนในฝัน ได้รับงบสร้างอาคาร แบบ สปช. 303/28 จำนวน 8 ห้อง
ปี พ.ศ. 2552 ได้รับงบสร้างอาคาร 3 แบบ สปช. 318 ล/38 (พิเศษ จำนวน 18 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2553 วันที่ 24 สิงหาคม 2553 โรงเรียนได้ผ่านการประเมินป้ายขอสนองพระราชดำริงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โรงเรียนได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ดนตรีดุริยางค์จำนวน 14 รายการ เป็นเงินงบประมาณ 396,100 บาน และได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) ในการจัดซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 1 ตัน (4 ประตู) จำนวน 1 คัน ด้วยเงินงบประมาณ 646,000 บาท ทำการตรวจรับเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318ล/38(พิเศษ) งบประมาณ 16,140,000 บาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 29 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ได้รับงบประมาณตามโครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) จัดซื้อครุภัณฑ์ วิทย์-คณิต เป็นงบประมาณ 300,000 บาท ตรวจรับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553
ปี พ.ศ. 2554 ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ 1 “เกียรติแห่งความมุ่งมั่นด้วยไวพจน์แห่งจิตสำนึกของเยาวชน” ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีพุทธศักราช 2554
ได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์การศึกษา 5 กลุ่มสาระหลักงบประมาณ 300,000 บาท ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์จำนวน 20 ชุด งบประมาณ 400,000 บาท ครุภัณฑ์วิทย์ – คณิต จำนวน 2 รายการ งบประมาณ 104,000 บาท ได้รับงบประมาณงบลงทุนในการปรับซ่อมห้องประวัติศาสตร์ ( ห้องศูนย์วัฒธรรม ) งบประมาณ 112,500 บาท
วันที่ 10 มกราคม 2554 ผู้อำนวยการ พูลศักดิ์ จิตสว่าง ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิสามสาระแห่งประเทศไทย คือ บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 65,000 บาท อาคารหอหญิง 1 หลัง งบประมาณ 190,000 บาท โรงซักผ้าและตากผ้า ชาย-หญิง จำนวน 2 หลัง งบประมาณ 90,000 บาท บ้านพักครู 4 คน จำนวน 2 หลัง งบประมาณ 266,000 บาท โรงกรองน้ำดื่ม 2 ชุด งบประมาณ 32,000 บาท ถังเก็บน้ำซีเมนต์ 1 ถัง งบประมาณ 45,000 บาท
ปี พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิสามสาระแห่งประเทศไทยก่อสร้างโรงอาหารนักเรียนพักนอน (อาคารอเนกประสงค์) มีเวที งบประมาณ 170,000 บาท จำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2556 ได้รับการจัดสรรระบบน้ำดื่มในโรงเรียนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลจากรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 1,227,000 บาท รับมอบเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556
ปี พ.ศ. 2557 ได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ห้องวิทยาศาสตร์ งบประมาณ 110,000 บาท ได้รับงบประมาณจากมูลนิธิสามสาระแห่งประเทศไทย ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์และห้องครัว งบประมาณ 270,000 บาท พร้องโรงกรองน้ำดื่ม จำนวน 2 แห่ง เป็นเงิน 32,000 บาท
ปี พ.ศ. 2558 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ได้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
โรงเรียนได้รับงบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ห้องวิทยาศาสตร์ งบประมาณ 110,000 บาท ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมโรงรับประทานอาหารเป็นเงิน 955.000 บาท
ได้รับงบประมาณตามโครงการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก ปรับปรุง อาคารเรียนแบบ 216ก และแบบ 216ล (ปรับปรุง29) เป็นเงินงบประมาณ 878,000 บาท
โรงเรียนผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
ปี พ.ศ.2559 ได้รับงบประมาณปรับปรุงพัฒนาทาสีอาคารสถานที่ ทำโรงจอดรถ และอื่นๆ งบประมาณ 158,730 บาท
ปี พ.ศ. 2560 ได้รับ งบประมาณ จำนวน 140,000 บาท ในการสร้างป้อมยามโรงเรียน และติดกล้องทางเข้าโรงเรียน ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครูแบบ 202 และ 203 รวมเป็นเงิน 193,700 บาท
- ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน (ทาสีอาคาร 318 หรือ อาคาร 3)
- ปูกระเบื้องโรงอาหาร รวมเป็นเงิน 500,500 บาท
- ก่อสร้างบ้านพักครู แบบ 205/26 รวมเป็นเงิน 723,400 บาท
- ปรับปรุงซ่อมแซมป้อมนอนเวรครู
- ปรังปรุงซ่อมแซมห้องประชาสัมพันธ์
- ได้รับ งบประมาณ 6,000,000 บาท ในการก่อสร้างโรงอาหาร 500 ที่นั่ง อยู่ในช่วงการดำเนินการ
ปี 2561 ปรับปรุงซ่อมแซมห้องเรียน การยืมคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์ต่าง ให้ครูที่ปรึกษาทำการยืมให้นักเรียน
– ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
– ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ
– ปรับปรุงห้องเวรนอนครูเวรชาย และปรับปรุงห้องนอนเวรครูหอหญิง
– ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล จากโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– โครงการลดการใช้พลังงาน
– สร้างหลังคาให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล
– กำลังก่อสร้าง บ้านพักครู 8 ครอบครัว แฟลต 8
ปี 2562 ปรับภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง , การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม เช่น โรงเรือนเลี้ยงแพะ , ร้านกาแฟ Daroon Love Coffee,
– สร้างห้องสมุดโรงเรียน
– สร้างห้องประชุมครู
– สร้างห้องตัดผม
– สร้างระบบไฟฟ้าในโรงเรียนเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อตอบสนองนโยบายโรงเรียนลดพลังงาน
ปัจจุบัน โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 57 คน นักเรียนจานวน 855 คน จำนวนห้องเรียน 29 ห้องเรียน โดยมี นายนิคม สิงห์สูตร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ตราโรงเรียน
ดาว์นโหลดโลโก้โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์
คติพจน์โรงเรียน
สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความสามัคคีทำให้เกิดสุข
ปรัชญาของโรงเรียน
“ มารยาทงาม ความรู้ดี มีวินัย พลานามัยสมบูรณ์ “
สีประจำโรงเรียน
“ เทา– น้ำเงิน ”
อัตลักษณ์โรงเรียน
“คนดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมคุณธรรม”
อักษรย่อ
ม.ด.
เอกลักษณ์โรงเรียน
“สิ่งแวดล้อมดี มีความพอเพียง”
วิสัยทัศน์โรงเรียน
“มุ่งจัดการศึกษาบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างคุณลักษณะของพลเมืองในศตวรรษที่ 21”
พันธกิจ / เป้าหมาย
- พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21
- พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
- พัฒนาสถานศึกษาให้มีระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน มุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม
- พัฒนาครูและผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันตามความถนัดของผู้เรียน